ปัจจุบันมีผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดเพื่อลดความอ้วนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นการผ่าตัดลดความอ้วนทำให้ผู้ป่วยสามารถลดน้ำหนักได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นภายหลังการผ่าตัดอย่างชัดเจน อีกทั้งยังช่วยให้สามารถช่วยคุมหรือรักษาโรคประจำตัวหายให้ขาดได้
ส่งผลให้อายุขัยของผู้ป่วยเพิ่มขึ้นภายหลังการผ่าตัดลดความอ้วน
เนื่องจากการผ่าตัดลดความอ้วนทำให้น้ำหนักของผู้ป่วยลดลงอย่างรวดเร็ว ประกอบกับผู้ป่วยมักมีน้ำหนักก่อนผ่าตัดที่เกินเกณฑ์ค่อนข้างมาก
ทำให้หลังผ่าตัดผู้ป่วยมักมีภาวะหนังส่วนเกินและหย่อนคล้อยซึ่งมีผลกระทบต่อทั้งร่างกายและจิตใจ อีกทั้งมีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การเสียดสีของผิวหนัง
การเคลื่อนไหวติดขัด กลิ่นตัว ความยากลำบากในการรักษาความสะอาด ผิวหนังติดเชื้อ การสูญเสียความมั่นใจ ไม่กล้าแต่งตัว ไม่กล้าถอดเสื้อผ้าในที่สาธารณะ เป็นต้น
ปัจจุบันการผ่าตัดกระชับรูปร่าง (Body Contouring) เป็นการรักษามาตรฐานในการรักษากลุ่มผู้ป่วยที่มีน้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว
(Massive weight loss) ทั้งที่เกิดจากการผ่าตัดและไม่ได้เกิดจากการผ่าตัด โดยมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อทำให้ผู้ป่วยกลับมามีรูปร่างที่ดี กระชับ
แก้ไขผลแทรกซ้อนจากการมีผิวหนังส่วนเกินและยังทำให้ผู้ป่วยกลับมามีความมั่นใจอีกครั้ง โดยมีการประเมินก่อนการผ่าตัดกระชับรูปร่างภายหลังการผ่าตัดลดความอ้วนดังนี้
การประเมินก่อนการผ่าตัดกระชับรูปร่าง
1. ระยะเวลา โดยส่วนใหญ่การผ่าตัดกระชับรูปร่าง มักจะทำภายหลังการผ่าตัดลดความอ้วนแล้วเป็นระยะเวลาประมาณ 12-18 เดือน
โดยจุดประสงค์เพื่อรอให้น้ำหนักลดลงให้ได้ร้อยละ 10-15 ของน้ำหนักเป้าหมาย
การประเมินก่อนการผ่าตัดกระชับรูปร่าง
2. ความคงที่ของน้ำหนักผู้ป่วย น้ำหนักของผู้ป่วยต้องคงที่ เปลี่ยนแปลงไม่เกิน 2-3 กก./เดือน เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3-6 เดือนก่อนผ่าตัด
3. ดัชนีมวลการ (Body mass Index, BMI) ภายหลังการผ่าตัดลดน้ำหนักดัชนีมวลกายเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อภาวะแทรกซ้อน
และผลลัพธ์ด้านความสวยงามหลังการผ่าตัด
• ดัชนีมวลกาย 25-30 กก./ม.2 เป็นดัชนีมวลการที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการผ่าตัดกระชับสัดส่วน เนื่องจากได้ผลลัพธ์ด้านความสวยงามที่สูงที่สุด
และมีผลแทรกซ้อนภายหลังการผ่าตัดน้อยที่สุด
• ดัชนีมวลกาย 30-35 กก./ม.2 ถือว่าอยู่ในช่วงที่ยอมรับได้สำหรับการผ่าตัดกระชับสัดส่วน แต่ต้องพิจารณาเป็นรายๆ ไป
• ดัชนีมวลกาย 35-40 กก./ม.2 การผ่าตัดจะไม่หวังผลด้านความสวยงาม แต่อาจจะผ่าตัดเพื่อลดอาการ
และผลแทรกซ้อนของภาวะหนังเกิน เช่น แผลกดทับจากไขมันและหนังส่วนเกิน
• ดัชนีมวลกายที่มากกว่า 40 กก./ม2 ไม่แนะนำให้เข้ารับการผ่าตัดกระชับสัดส่วน เนื่องจากมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนสูง
และมักไม่ได้ผลด้านความสวยงาม
4. ภาวะโภชนาการ (Nutrition status) เนื่องจากการผ่าตัดในแต่ละครั้งทำให้ร่างกายใช้โปรตีนและพลังงานเพิ่มขึ้น
โดยผู้ป่วยที่ผ่านการผ่าตัดลดความอ้วนมาแล้ว มักจะมีปัญหาด้านการดูดซึม ขาดสารอาหารทั้งโปรตีนและวิตามินเกลือแร่ต่างๆ ดังนั้นผู้ป่วยที่จะเข้ารับการผ่าตัดกระชับสัดส่วนทุกราย
ต้องไม่มีภาวะทุพโภชนาการ เพื่อลดโอกาสในการเกิดภาวะแทรกซ้อน
5. โรคประจำตัวร่วม เนื่องจากผู้ป่วยโรคอ้วนมักมีโรคประจำตัวร่วมหลายโรค แม้ว่าการผ่าตัดลดความอ้วนจะสามารถทำให้ควบคุมโรคประจำตัวได้ดีขึ้น
แต่อาจไม่หายขาด ดังนั้นการควบคุมโรคประจำตัวให้ดีจะสามารถลดภาวะแทรกซ้อนทั้งระหว่างผ่าตัด และภายหลังผ่าตัดได้เป็นอย่างดี
6. ผู้ป่วยที่สูบบุหรี่ควรหยุดสูบก่อนเข้ารับการผ่าตัดอย่างน้อย 1-2 เดือน เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนทางการหายใจ และบาดแผลภายหลังการผ่าตัด
7. ภาวะสังคมและจิตใจ ผู้ป่วยโรคอ้วนมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าสูงกว่าคนที่มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติหลายเท่า
แม้ว่าน้ำหนักจะลดลงภายหลังการผ่าตัดลดความอ้วน แต่อาการของโรคซึมเศร้า ความกังวล ความไม่มั่นใจในตัวเอง และ การมองรูปร่างตัวเองว่าไม่ดียังคงไม่หายไป
ผู้ป่วยจึงควรได้รับการดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสภาวะจิตใจร่วมด้วย นอกเหนือจากสภาวะจิตใจของผู้ป่วยแล้ว
ผู้ป่วยควรต้องพูดคุยกับศัลยแพทย์เพื่อบอกถึงความคาดหวังในการเข้ารับการผ่าตัดกระชับสัดส่วน เนื่องจากการผ่าตัดกระชับสัดส่วนไม่เพียงแต่สามารถรักษาด้วยการตัดเอาออกเท่านั้น
แต่ไขมันส่วนเกินยังสามารถโยกย้าย หรือนำไปเพิ่มปริมาณในส่วนที่ผู้ป่วยต้องการได้อีกด้วย เช่นบริเวณเต้านม หรือบริเวณสะโพก
ตัวอย่างการผ่าตัดกระชับสัดส่วน แบ่งตามส่วนของร่างกาย
1. หน้าท้อง หน้าท้องเป็นส่วนที่ผู้ป่วยมักให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก และยังเป็นส่วนที่ก่อให้เกิดปัญหาด้านความไม่สะอาดได้ง่าย
การผ่าตัดกระชับสัดส่วนบริเวณผนังหน้าท้องนอกจากทำให้ผิวหนังกระชับขึ้นแล้ว ยังทำให้ผนังหน้าท้องกระชับมากขึ้นอีกด้วย
เอกสารอ้างอิง
1. Body Contouring. Clinics in plastic surgery. 2014;41(4):v-viii.
2. Nemerofsky RB, Oliak DA, Capella JF. Body lift: an account of 200
consecutive cases in the massive weight loss patient. Plastic and
reconstructive surgery. 2006;117(2):414-30.
3. Coon D, Gusenoff JA, Kannan N, et al. Body mass and surgical complications
in the post bariatric reconstructive patient: analysis of 511
cases. Annals of surgery. 2009;249(3):397-401.
4. Song AY, Rubin JP, Thomas V, et al. Body image and quality of life
in post massive weight loss body contouring patients. Obesity. 2006;
14(9):1626-36.
5. Aly AS. Body Contouring After Massive Weight Loss. St Louis: Quality
Medical Publishing, 2006.
6. Rubin JP, Nguyen V, Schwentker A. Perioperative management of the
post-gastric-bypass patient presenting for body contouring surgery. Clin
Plast Surg 31:601-610, 2004.
7. Michaels J, Coon D, Rubin JP. Complications in postbariatric body
contouring: postoperative management and treatment. Plast Reconstr
Surg 127:1693-1700, 2011.